BLOGS

Looker Studio Pro – Business Intelligence ที่ใช่สำหรับมือโปรอย่างคุณ

Thakorn.T • 26/07/2023
Google Cloud Solutions Specialist

Looker Studio Pro – Business Intelligence ที่ใช่สำหรับมือโปรอย่างคุณLooker Studio Pro – Business Intelligence ที่ใช่สำหรับมือโปรอย่างคุณLooker Studio Pro – Business Intelligence ที่ใช่สำหรับมือโปรอย่างคุณLooker Studio Pro – Business Intelligence ที่ใช่สำหรับมือโปรอย่างคุณ

Looker Studio คืออะไร?

Looker Studio เป็นเครื่องมือประเภท business intelligence ที่ใช้งานได้ฟรีจาก Google ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ วิเคราะห์และสร้าง chart ด้วยข้อมูลของตน รองรับ data sources ที่หลากหลาย รวมถึง Google Analytics, Google Sheets, SQL Server, MySQL และ BigQuery

 ด้วย Looker Studio องค์กรสามารถ explore และ visualize ได้อย่างง่ายดายโดยใช้ interface แบบ drag & drop ทำให้องค์กรสามารถสร้างรายงานหรือ dashboard แบบต่าง ๆ ที่ให้ insight นำไปตัดสินใจเชิงธุรกิจได้ดีขึ้น

เดิมที Looker Studio มีชื่อว่า Data Studio ที่เหล่านักทำข้อมูลใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะใช้งานได้ง่ายและฟรี จนเมื่อปี 2022 Google ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ โดย rebranding Data Studio เป็น Looker Studio เพื่อให้เข้ากับ Business Intelligence solution บน Google Cloud และได้ออก Looker Studio Pro อีกหนึ่งเวอร์ชัน ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่มีความครบครันเพื่อตอบโจทย์ระดับองค์กรมากขึ้น

อนาคต Looker Studio เป็นอย่างไร?

Google ไม่เคยหยุดพัฒนานวัตกรรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับในเวอร์ชันฟรีอย่างตัว Looker Studio นั้นก็มี features ที่มากขึ้น เราลองมาดูกันว่า roadmap ของ Looker Studio ที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 เป็นอย่างไรกัน

Ask Looker

Feature ที่ตอบโจทย์ business users มากขึ้นกับ Ask Looker ที่สามารถถามคำถามกับ dashboard ตัวนี้โดยไม่ต้องอาศัย technical skill ในการสร้าง dashboard ทำให้คล่องตัวมากขึ้น ด้วยการอาศัยเทคโนโลยีที่เข้าใจเนื้อความที่เราพิมพ์ถามได้ อย่าง Natural Langauge และ Generative AI จาก Google

Visualizations ใหม่ บน Looker Studio

ในปี 2023, Google จะเพิ่ม chart ใหม่ถึง 4 แบบเอาใจสาย BI ให้อธิบายข้อมูลทางธุรกิจของเราได้ดีขึ้น ประกอบไปด้วย

Sankey Chart

Gantt Chart

Waterfall Chart

Boxplot

Chart Interaction ใหม่บน Looker Studio

ผู้ใช้สามารถปรับแต่ง chart ของตนเพื่อทำ storytelling ได้เจ๋งกว่าเดิมอย่างการ Zoom, Pan, Tooltips และ Buttons

Drill-Fields บน Looker Studio

องค์กรสามารถ drill down แตกข้อมูลแต่ละ field ออกมาได้ อาทิ แตกข้อมูลระดับเดือนออกมาเป็นรายวัน ทำให้เห็นรายละเอียดที่มากขึ้นในการวิเคราะห์แบบ diagnostic analytics หรือ deep-dive anaƒlysis

Looker Studio Pro มีความแตกต่างกับตัวฟรีอย่างไร?

แม้ว่า Looker Studio ฟรี จะมีความสามารถที่หลากหลาย แต่ Google ก็ไม่เคยอยู่พัฒนาให้มีเวอร์ชันที่มีความเป็นองค์กรมากขึ้นอย่าง Looker Studio Pro ซึ่งจะเน้นใน 3 เรื่องต่อไปนี้

Visibility across your organization

บน Looker Studio เราจะมองทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น report หรือ data source เป็น assets เสมือนทรัพย์สินขององค์กร และ Looker Studio Pro จะสามารถ integrate กับ IAM และ Dataplex เพื่อกำหนด permission บน GCP ในการบริหาร assets ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งปัญหาเรื่องพนักงานเข้า-ออก และต้องคอย transfer owner ที่เป็นเจ้าของ asset เหล่านั้นจะหมดไป เพราะทุก asset เป็นขององค์กรไม่ใช่ของส่วนบุคคล ทำให้จัดการในเรื่อง data governance ได้ดีขึ้น

Better team collaboration

เราสามารถทำงานเป็นทีมได้ดีกว่าเดิมโดยแชร์ assets ต่างๆ ไปยัง Team Workspaces

เมื่อ assets ต่าง ๆ ถูกย้ายมาอยู่บน Team Workspaces จะเปลี่ยนจาก basic roles (viewer, editor, owner) เดิมกลายมาเป็น team workspace roles (contributor, content manager, manger) และควบคุมโดย governance ขององค์กร เราจึงสามารถ assign Manager และ Content Manager role ให้กับทีมได้ ซึ่งมีความคล้ายกับ owner ใน basic roles จึงไม่ต้อง transfers owner เมื่อพนักงานลาออกอีกต่อไป

ตารางข้างล่างจะเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง basic roles และ team workspace roles ครับ

และภาพต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่าง การย้ายจาก Individual assets ไปอยู่ใน Team Workspaces asset ครับ

Support and SLAs

เมื่อ Looker Studio Pro กลายเป็น assets ขององค์กร และมีการ integrate กับ tools ต่าง ๆ บน GCP การ support จึงเปลี่ยนไปจาก community support มาเป็น Google Cloud Support เราจะได้ SLA 99.9% และได้รับการ support แบบ 24×7 ตาม Google Cloud support packages ที่เรามีติดไว้ และเปิด case ผ่าน Support บน Google Cloud console ได้ทันที

Looker Studio Pro มี features อะไรใหม่?

นอกจากการคุณสมบัติแบบองค์กรที่กล่าวมาข้างต้น Looker Studio Pro จะยังมี features ที่รองรับความเป็นองค์กรมากขึ้นอีก เช่น

ระบบ Alert บน Looker Studio Dashboards

ระบบ Alert บน Looker Studio Dashboards

นี่คือ feature ที่ทุกคนรอคอย เราสามารถ tracking & monitoring ข้อมูลบน dashboard ได้อาทิ มีข้อมูลบางอย่างที่เปลี่ยนไป หรือ KPI บางตัว drop เพื่อให้สามารถ action ได้ทันท่วงที เราสามารสร้าง alert เหล่านี้กับ metric บน dashboard ให้ alert ไปยัง email ได้

Looker Studio Mobile App

บางทีมในองค์กรก็เน้นความคล่องตัวเป็นหลัก พวกเขามักใช้ smart phone ในการดู dashboard เช่น ทีมที่ออกไป on-site ดังนั้นแล้ว Looker Studio Pro จึงมาพร้อมกับ Mobile App ที่สามารถให้ทีม BI สร้างรายงานเดียวแต่ใช้ได้กับหลาย devices โดยไม่ต้องคอยมาทำ dashboard หลายเวอร์ชัน ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะดูเวอร์ชันมือถือหรือ desktop

สร้าง multiple schedules ได้ในคราวเดียว

จากเดิมที่ Looker Studio ตั้ง schedule ได้แค่เวลาเดียวและกลุ่มผู้รับกลุ่มเดียว เราสามารถสร้าง multiple schedules คือส่งให้อีเมล์ผู้รับหลาย ๆ กลุ่ม และต่างวันเวลากันได้

พร้อมความสามารถในการ filter ข้อมูลใน schedules ให้เห็นต่างกัน เช่น กรณีข้อมูลสาขา A และสาขา B ก็ควรจะมองไม่เห็นของกันและกัน ซึ่งเป็น features ที่มีประโยชน์มากสำหรับองค์กรที่จัดการผู้รับสาส์นที่แตกต่างกัน

Integrate กับ Google Workspace เพื่อ Work Collaboration ที่ลงตัว

การทำงานพื้นฐานอย่างงานด้านเอกสารและอีเมล์ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับองค์กร ซึ่งตัว Looker Studio Pro สามารถส่ง report เป็น PDF ไปยัง chat กลุ่มหรือ chat ส่วนตัวได้เลย

ในส่วนของ Google Docs และ Google Slides ทีม business users ก็สามารถสร้าง storytelling ด้วยการดึง chart ได้โดยตรงจาก Looker Studio โดยไม่ต้องไป capture หน้าจอมาแปะอีก ซึ่งทำให้พวกเขาได้ข้อมูลที่อัพเดทล่าสุดในแต่ละ chart เมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย

Looker Studio กับ Looker เป็นตัวเดียวกันหรือไม่?

หลายคนมักอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับ products สองตัวนี้และอาจจะเรียกสับสนกันระหว่าง Looker กับ Looker Studio ได้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว Looker Studio จัดอยู่ใน Looker Family โดยมีพี่ใหญ่อยู่คือ Looker

 Looker พี่ใหญ่จะมีความเป็น enterprise ในระดับที่เรียกว่าครอบคลุมทุกอย่างกับ Data Governance แต่ละ dimension และ metric จะมีทีม Looker Devloper ในองค์กรสร้างให้ ทำให้ทุกคนเรียกใช้แต่ละตัวแปรจะมีความเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งองค์กร เช่น พูดถึง sales ก็เป็น sales ยอดเดียวกัน ไม่ใช่ sales ที่ต่างคนต่างสร้างต่างวัดกันเอง โดยสิ่งที่ควบคุมตรงนี้เราเรียกว่าการทำ data model คล้ายกับเทคโนโลยี cube ซึ่งทีม Looker จะสร้างตัวแปรเหล่านี้ผ่านภาษา LookML (Looker Modeling Language) อีกทั้งยังมี features มากมายที่รองรับในเรื่องของการทำ marketing automation ด้วย

จากภาพข้างต้นจะเห็นว่าลักษณะของ Looker Studio จะยังใช้ข้อมูลที่ Unmodeled data เพราะผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อ data sources จากแหล่งต่าง ๆ มาทำข้อมูลด้วยตัวเองได้ ยังไม่เป็น goverernance เบ็ดเสร็จเช่น Looker แต่ด้วยความสามารถของ Looker Studio นั้นสามารถเชื่อมต่อกับ Looker เป็นเสมือน data source และใช้ Modeled data จาก Looker ได้ นั่นหมายความว่าในองค์กรสามารถเลือกใช้ Looker และ Looker Studio คู่กันได้ ตามแต่ละ business use case หรือทีมที่ต้องการได้

ดังนั้นมาถึงตรงนี้คุณผู้อ่านก็พอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่า Looker Studio กับ Looker มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร และองค์กรเรามีความต้องการแบบไหนก็สามารถเลือกใช้ tools ใน Looker Family ได้อย่างเหมาะสมครับ

Conclusion

เราหวังว่าคุณผู้อ่านจะได้รู้จักกับ Looker Studio Pro มากขึ้น ที่โปรทั้งในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ และโปรทั้งคุณสมบัติที่องค์กรต้องการ และมีแรงบันดาลใจในการยกระดับ analytical skill ขึ้นไปอีกขั้นกับ Looker Studio

หากคุณสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Looker Studio หรือพื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ zero to hero นั้น เรามี training ที่ทำให้คุณเพิ่มทักษะการวิเคราะห์และออกแบบ dashboard ทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อประสบความสำเร็จในโลกของ Data Analytics ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Get a Free Consultation
Contact Form_EN Sources (#25)