BLOGS

เจาะลึก! Multi-cloud คืออะไร ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างไร

Tangerine • 20/12/2024
Tangerine Co., Ltd.
Multi-cloud

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้สามารถก้าวทันคู่แข่งและกลายเป็นผู้นำด้านธุรกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันคือ Multi-cloud เป็นการใช้บริการคลาวด์จากผู้ให้บริการหลายรายร่วมกัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของธุรกิจ ทั้งในด้านการทำงานและการพัฒนาธุรกิจในระยะยาว

บทความนี้เราจะพามาเจาะลึกไปพร้อมกันกันว่า Multi-cloud คืออะไร มีข้อดีอย่างไร ทำไมจึงตอบโจทย์คนทำธุรกิจ

ทำความรู้จัก Multi-cloud ระบบคลาวด์ประยุกต์ที่ตอบโจทย์คนทำธุรกิจ

Multicloud คือ

ขอบคุณรูปจาก: cloudflare

มัลติคลาวด์ หรือ Multi-cloud คือ การนำคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) จากผู้ให้บริการมากกว่าหนึ่งรายมาประยุกต์ใช้งานร่วมกัน ไม่ว่าองค์กรของคุณจะมี Public Cloud อยู่แล้วหรือไม่ก็ตาม การปรับใช้ Multi-cloud ช่วยให้สามารถเลือกสรรบริการที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด จากผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะแต่ละราย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมและตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างตรงจุด

นอกจากนี้  Multi-cloud ยังเป็นการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากการพึ่งพาผู้ให้บริการหลายรายจะช่วยป้องกันไม่ให้ Workload ของคุณได้รับความเสียหาย หากเกิดปัญหากับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง ยิ่งมีการกระจายการใช้งานมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่จะเกิดกับระบบงานสำคัญขององค์กรก็จะลดลงมากขึ้นเท่านั้น

ข้อดีของการใช้งานระบบ Multi-cloud ต่อองค์กรและธุรกิจ

1. ระบบมีความยืดหยุ่น

การเลือกใช้ Multi-cloud ที่เป็นบริการคลาวด์จากหลากหลายผู้ให้บริการ ช่วยให้สามารถเลือกสรรจุดเด่นของแต่ละเจ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะผู้ให้บริการคลาวด์แต่ละรายล้วนมีข้อได้เปรียบและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นการผสมผสานการใช้งานหลาย ๆ คลาวด์ จึงทำให้มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการระบบให้ตอบโจทย์ธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น 

2. ลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

การใช้งาน Multi-cloud ยังมีส่วนช่วยบริหารความเสี่ยงให้กับธุรกิจ ด้วยกลไกการสำรองข้อมูลและกู้คืนระบบจากทุกผู้ให้บริการ จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญจะปลอดภัยและสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะเกิดเหตุฉุกเฉินไม่ว่าจะเป็นไฟดับหรือภัยพิบัติ ธุรกิจก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น

3. รองรับการเติบโตของธุรกิจ

เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นปริมาณข้อมูลและผู้ใช้งานก็จะเพิ่มขึ้นตาม การใช้ Multi-cloud จะช่วยให้ธุรกิจสามารถขยายระบบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก Multi-cloud สามารถปรับขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน และทำงานร่วมกับคลาวด์อื่น ๆ ได้อย่างราบรื่น

4. ไม่ต้องยึดติดกับผู้ให้บริการ

การพึ่งพาผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวอาจทำให้คุณต้องยึดติดกับผู้ให้บริการเจ้าใดเจ้าหนึ่ง เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในคลาวด์ของผู้ให้บริการรายนั้น ส่งผลให้การโยกย้ายระบบไปยังที่อื่นเป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่การมี Multi-cloud จะช่วยให้คุณมีอิสระในการควบคุมปริมาณงานและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

5. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

ด้วยความยืดหยุ่นและคุ้มค่าของ Multi-cloud ที่สามารถรองรับข้อมูลได้อย่างมหาศาล ลดปัญหาการผูกติดกับผู้ให้บริการ และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยการสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ธุรกิจจะสามารถพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น ส่งผลให้สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีเต็มศักยภาพ

หากมีความสนใจที่จะนำระบบ Cloud มาเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กร Tangerine เรามีบริการระบบ Cloud พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและเทรนนิ่งส่งมอบระบบ เพื่อให้พนักงานในองค์กรของคุณสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดต่อเพื่อปรึกษาและวางแผนเกี่ยวกับระบบ Cloud ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ ได้ที่ marketing@tangerine.co.th 

วิธีการใช้งานระบบ Multi-cloud อย่างมีประสิทธิภาพ

มัลติคลาวด์

ถึงแม้ว่าระบบ Multi-cloud จะมีประโยชน์ต่อธุรกิจมากเพียงใด แต่การจะใช้งานให้ Multi-cloud มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการที่ดี ดังนี้ 

1. กำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายที่ชัดเจน: ต้องมีการวิเคราะห์ความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ เพื่อกำหนดว่าจะเลือกใช้บริการคลาวด์ใดบ้าง ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนได้อย่างราบรื่น

2. เลือกใช้บริการที่เหมาะสม: ต้องศึกษาและเปรียบเทียบบริการต่าง ๆ ของผู้ให้บริการแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อเลือกใช้บริการที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจมากที่สุด 

3. บริหารจัดการและควบคุมต้นทุน: ต้องมีการติดตามและควบคุมต้นทุนการใช้งาน Multi-cloud อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและควบคุมงบประมาณไม่ให้บานปลายเกินความจำเป็น

4. ดูแลด้านความปลอดภัยและการกู้คืนข้อมูล: ถึงแม้ระบบ Multi-cloud จะมีความสามารถในการสำรองและกู้คืนข้อมูล แต่ก็ต้องมีการวางแผนและจัดการด้านความปลอดภัยและการกู้คืนข้อมูลอย่างรัดกุม เพื่อลดความเสี่ยงได้อย่างทวีคูณ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบ Multi-cloud

ค่าใช้จ่ายในการใช้ Multi-cloud คิดอย่างไร

ค่าใช้จ่ายในการใช้ Multi Cloud ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งานและประเภทของบริการที่เลือกใช้ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ให้บริการมักจะคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง (pay-as-you-go) ทำให้คุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ และเลือกใช้บริการที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ

Multi-cloud Vs Hybrid Cloud ควรเลือกใช้ระบบไหนดี

การเลือกใช้ระบบ Multi-cloud หรือ Hybrid Cloud นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจเป็นหลัก หากต้องการความยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ตามการใช้งาน Multi-cloud เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ขณะที่ Hybrid Cloud เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการใช้ทรัพยากร On-Premise ควบคู่ไปกับ Public Cloud เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด 

ไม่ว่าจะเลือกระบบไหน สิ่งสำคัญคือต้องวางแผนให้ดี เลือก Cloud Provider ที่น่าเชื่อถือ และมีทีมงานที่พร้อมดูแลระบบอย่างมืออาชีพ เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคงด้วยเทคโนโลยี Cloud ที่ทันสมัย

ทำความรู้จัก Hybrid Cloud ได้ที่: Hybrid Cloud คืออะไร ทำไมองค์กรขนาดใหญ่ถึงเลือกใช้งาน

สรุป

โดยสรุปแล้ว Multi-cloud คือแนวคิดการใช้บริการคลาวด์จากหลายผู้ให้บริการร่วมกัน เพื่อนำจุดเด่นของแต่ละผู้ให้บริการมาใช้ประโยชน์สูงสุด ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ลดความเสี่ยง และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้รวดเร็วท่ามกลางการแข่งขัน เหมือนกับการมีเครื่องมือหลากหลายในกล่องเครื่องมือช่าง ทำให้เลือกใช้ได้ตรงตามความต้องการและสถานการณ์ 

Tangerine เราคือผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมช่วยให้องค์กรของคุณสามารถปลดล็อคศักยภาพ และก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ด้วยโซลูชัน Public Cloud และ Multi-cloud ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจคุณโดยเฉพาะ ลดต้นทุน สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 แห่งความสำเร็จไปกับเรา ติดต่อเพื่อปรึกษาและวางแผนเกี่ยวกับระบบ Cloud ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ ได้ที่ marketing@tangerine.co.th 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Contact Form_TH Sources