BLOGS

ทำความรู้จักกับ Data Governance กลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัล

Tangerine • 20/09/2024
Tangerine Co., Ltd.
ทำความรู้จัก Data Governance กลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัล
Data Governance

จำนวนข้อมูลที่กำลังพุ่งทะยานขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในปัจจุบันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้องค์กรยุคใหม่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการข้อมูล มิฉะนั้นอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านข้อมูล กระทบความเชื่อมั่นในการตัดสินใจทางธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ Data Governance จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ 

การมีระบบ Data Governance ที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยง แต่ยังเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถใช้ข้อมูลที่มีค่าในการสร้างนวัตกรรม ปรับปรุงกระบวนการ และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า Data Governance คืออะไร ทำไมมันถึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคดิจิทัล และจะนำไปปรับใช้ในองค์กรของท่านได้อย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

Data Governance คือ

ธรรมาภิบาลข้อมูล หรือ Data Governance คือกระบวนการที่ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการข้อมูลในองค์กรอย่างเป็นระบบและปลอดภัย เป้าหมายหลักคือการทำให้ข้อมูลในองค์กรมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเก็บรักษาข้อมูล การเข้าถึงข้อมูล หรือการป้องกันการละเมิดความปลอดภัยของข้อมูล

สำหรับองค์ธุรกิจในประเทศไทยไม่อาจมองข้ามความสำคัญของ Data Governance ได้เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ได้มีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด โดย PDPA กำหนดให้องค์กรต่างๆ ต้องมีมาตรการที่ชัดเจนในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ข้อมูล หรือการแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลที่สาม การละเมิดข้อกำหนดเหล่านี้อาจนำมาซึ่งบทลงโทษทางกฎหมายที่รุนแรง และยังส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรในระยะยาวอีกด้วย

ทำความเข้าใจ กับ Data Governance Framework

Data Governance Framework คือโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้การกำกับดูแลข้อมูลในองค์กรเป็นไปอย่างเป็นระเบียบ ปลอดภัย และเป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมาย ประกอบไปด้วยใจความสำคัญดังนี้ 

  1. Data Intake and Ingestion กระบวนการนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เข้าสู่องค์กร ซึ่งข้อมูลจะถูกตรวจสอบความถูกต้องและแปลงเป็นรูปแบบที่สามารถใช้งานได้ ช่วยลดความเสี่ยงจากข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องเข้าสู่ระบบ
  2. Cataloging ข้อมูลที่นำเข้ามาจะถูกจัดระเบียบและบันทึกในรูปแบบของ Catalog เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาโดยใช้ Metadata เพื่ออธิบายลักษณะและคุณสมบัติของข้อมูล เช่น ชนิด ที่มา ระดับความสำคัญ ทำให้สะดวกในการค้นหาและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. Persistence ข้อมูลสำคัญจะถูกจัดเก็บในระบบที่มีการจัดการอย่างดี เช่น Database หรือ Data Lake อาจจะต้องอาศัยเทคโนโลยีที่สามารถรองรับการเข้าถึงข้อมูลแบบ Real-time และการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เช่น High Availability Databases หรือระบบ Cloud Storage
  4. Retention การกำหนดระยะเวลาการเก็บข้อมูลตามความจำเป็นหรือข้อกำหนด Data Governance ทางกฎหมาย เช่น การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA หรือ GDPR ข้อมูลจะถูกจัดเก็บในลักษณะที่ป้องกันการแก้ไขหรือการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการจัดการข้อมูลที่หมดอายุอย่างเหมาะสม
  5. Storage Management ช่วยให้การจัดการ Local Storage หรือ Cloud Storage เป็นเรื่องง่าย ตามหลักการ Data Governance ระบบต้องมีความสามารถในการขยายตัวและบริหารพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  6. Sharing การแบ่งปันข้อมูลภายในองค์กรจะต้องเป็นไปตามนโยบาย Data Governance ที่กำหนดไว้ มีการควบคุมสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลผ่าน IAM เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตและรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
  7. Archiving ข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานเป็นประจำแต่ยังเป็นประโยชน์หรือจำเป็นต้องเก็บรักษาตามกฎหมายจะถูกจัดเก็บในระบบถาวร การจัดเก็บข้อมูลระยะยาวตามหลัก Data Governance ช่วยลดภาระการจัดการข้อมูลในระบบหลักและสามารถเรียกใช้งานข้อมูลได้ในอนาคต
  8. Backup การสำรองข้อมูลเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญของ Data Governance ที่ช่วยป้องกันการสูญหายของข้อมูลจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน องค์กรสามารถกู้คืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เช่น การใช้ Backup Solutions ที่รองรับการสำรองข้อมูลทั้งใน On-premises และ Cloud 
  9. Recovery เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ข้อมูลสูญหายหรือไม่สามารถเข้าถึงได้ การมี Disaster Recovery Plan และการจัดเตรียม Infrastructure ที่รองรับการกู้คืนข้อมูลในกรณีฉุกเฉินตามหลักการ Data Governance จะช่วยให้องค์กรกลับมาดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและลดผลกระทบต่อธุรกิจ
  10. Loss Prevention หลักกาาร Data Governance เน้นการป้องกันข้อมูลสำคัญจากการสูญหาย รั่วไหล หรือโจรกรรม สามารถใช้งาน DLP Tools เช่น Data Encryption และ Access Controls เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล
  11. Disposition ข้อมูลที่หมดอายุการใช้งานหรือไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาอีกต่อไปจะต้องถูกกำจัดตามนโยบาย Data Governance การกำจัดข้อมูลที่ถูกต้องช่วยป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่จำเป็นและลดความเสี่ยงทางกฎหมาย
  12. Removal and Deletion เป็นขั้นตอนสุดท้ายของ Data Governance ข้อมูลที่ต้องถูกลบออกจากระบบต้องถูกจัดการอย่างปลอดภัยและไม่สามารถกู้คืนได้ การใช้ Secure Deletion Techniques ช่วยให้มั่นใจว่าข้อมูลถูกลบอย่างถาวรและปลอดภัย ป้องกันการนำหมดอายุไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต

ข้อดีของ Data Governance

Data Governance Tools

การนำ Data Governance มาใช้ในองค์กรมีประโยชน์มหาศาลที่ไม่เพียงแต่ช่วยให้การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพขึ้น แต่ยังเสริมสร้างความยั่งยืนของธุรกิจในยุค Digital Transformation เรามาดูข้อดีของการมีระบบ Data Governance ที่แข็งแกร่งในองค์กรกัน

  1. ความแม่นยำของข้อมูล Data Governance ช่วยให้ข้อมูลในองค์กรมีความน่าเชื่อถือได้ ด้วยเทคนิค Data Validation และ Data Quality Management ดูแลให้ข้อมูลที่เข้าสู่ระบบผ่านการตรวจสอบ ทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูง ลดข้อผิดพลาดในการวิเคราะห์และตัดสินใจ สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีกว่าเดิม
  2. การปฏิบัติตามข้อกฎหมาย ในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่มีการบังคับใช้กฎหมาย PDPA อย่างเข้มงวด Data Governance ช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างเคร่งครัด ด้วยการใช้เทคโนโลยี Data Auditing, Access Controls และ Data Masking ป้องกันการละเมิดความเป็นส่วนตัว
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูล องค์กรจัดการข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นด้วยการใช้งาน Data Cataloging, Metadata Management และ Data Stewardship ซึ่งช่วยให้ค้นหาและเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูลและลดต้นทุนในการจัดการโดยรวม
  4. ความปลอดภัยสูง การใช้มาตรการ Data Encryption, IAM และ DLP เพื่อป้องกันข้อมูลจากการโจรกรรม การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจและรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้า
  5. สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การมีระบบ Data Governance ที่เข้มแข็งช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างนวัตกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อตลาดและลูกค้าได้ดีกว่าเดิม
  6. ส่งเสริมการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ Data Governance ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ จากการใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ทำให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มทางธุรกิจ (Business Intelligence) และคาดการณ์อนาคตได้อย่างมั่นใจ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น Big Data Analytics และ Machine Learning ที่อยู่ภายใต้กรอบการกำกับดูแลข้อมูล ทำให้องค์กรสามารถนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

7 ขั้นตอนการทำ Data Governance ให้ประสบความสำเร็จ

การทำ Data Governance ให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ People Process และ Technology เราจะพาทุกท่านมาดูขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้องค์กรทำ Data Governance ให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 

  1. กำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์ ครอบคลุมทุกด้านของการจัดการข้อมูลในองค์กร ตั้งแต่เป้าหมาย หลักปฏิบัติ และมาตรฐาน รวมถึงการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์กร 
  2. สรรหาบุคลากรที่เหมาะสม การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทีมงานควรประกอบไปด้วย Data Stewards, Data Owners, และ Data Custodians ที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลข้อมูลในแต่ละส่วน 
  3. ออกแบบและวางกระบวนการ ตั้งแต่เก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบและยืนยัน จัดเก็บ สำรองข้อมูล และกำจัดข้อมูลที่หมดอายุ นอกจากนี้ยังต้องมี Disaster Recovery Plan เพื่อเตรียมความพร้อมในการกู้คืนข้อมูลในกรณีฉุกเฉิน
  4. ลือกใช้เทคโนโลยีขั้นสูง Technology เช่น Data Management Platforms, Data Catalogs และ IAM  รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่าง Data Encryption และ DLP ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคที่ความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญสูงสุด
  5. สร้างกรอบการทำงานและมาตรฐาน ระบุขั้นตอน กระบวนการ และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน รวมถึงการกำหนดมาตรฐานที่องค์กรต้องปฏิบัติตาม เช่น Data Quality, Data Security และ Data Privacy ช่วยให้การจัดการข้อมูลในองค์กรเป็นไปอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
  6. ตรวจสอบและประเมินผล ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ เช่น Data Auditing, Data Quality Assessment และ Access Control Monitoring เพื่อรับรองว่าระบบ Data Governance ทำงานได้มีประสิทธิภาพ 
  7. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาองค์กรจึงต้องปรับปรุงนโยบาย กระบวนการ และเทคโนโลยีอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่นการใช้ Agile Methodology ในการจัดการข้อมูลช่วยให้ระบบ Data Governance มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

สำรวจ Data Governance บน Google Cloud Platform

Data Security

หลายท่านคงเข้าใจและเห็นความสำคัญของ Data Governance มากขึ้น คงพลาดไม่ได้ที่จะไม่แนะนำให้รู้จักกับ Google Cloud Platform ที่นำเสนอชุดเครื่องมือครอบคลุมทุกมิติของ Data Governance ช่วยให้การจัดการข้อมูลในองค์กรมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 

  • IAM ช่วยให้ควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงและกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ แบบ Role-Based Access Control อีกทั้งยังสามารถรวมกับ Multi-Factor Authentication (MFA) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล
  • Google Cloud Dataplex ช่วยให้กำกับดูแลข้อมูลที่อยู่ในระบบ Data Lake ได้อย่างเป็นระบบ สามารถกำหนดนโยบายด้าน Data Quality, Data Security และ Data Lifecycle ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Dataplex ยังช่วยสร้างและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบ Data Zones ซึ่งใช้ในการจัดการสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลได้ละเอียด
  • Google Cloud Data Loss Prevention สามารถใช้ Data Masking และ Data Encryption ช่วยให้ข้อมูลที่สำคัญ เช่น PII หรือข้อมูลทางการเงินได้รับการปกป้อง นอกจากนี้ยังมี Google Cloud Security Command Center ที่ใช้ตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์อีกด้วย
  • Google Cloud Audit Logs ช่วยติดตามและบันทึกกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบน Google Cloud Platform ทำให้ตรวจสอบการเข้าถึงและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเป็นไปอย่างโปร่งใส

การนำเสนอเครื่องมือที่มีความสามารถสูงและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย Google Cloud Platform ช่วยให้องค์กรของท่านสามารถสร้าง Data Governance ที่แข็งแกร่งและตอบสนองต่อความท้าทายในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ Data Governance บน Google Cloud เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ช่วยเสริมสร้าง Data Governance ให้กับองค์กร

สรุป

การจัดการข้อมูลในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่ท้าทายและต้องการการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ Data Governance บน Google Cloud Platform  นำเสนอเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทรงพลังเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการจัดการข้อมูลขององค์กร ตั้งแต่การควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง การปกป้องข้อมูล Google Cloud Platform ช่วยให้การจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย

Tangerine มีความภูมิใจนำเสนอ Google Cloud Data Governance Solution ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองทุกความต้องการขององค์กรในด้านการจัดการข้อมูล เรานำเสนอระบบที่รองรับ Standard Compliance ทั้ง GDPR, PCI DSS, HIPAA และ CSA ซึ่งช่วยให้ท่านมั่นใจได้ถึงระบบความปลอดภัยและพื้นฐานการจัดการข้อมูลที่แข็งแกร่ง หากท่านต้องการเสริมสร้างระบบ Data Governance และพัฒนาการจัดการข้อมูลขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น Tangerine พร้อมที่จะเป็นพันธมิตรในการสร้างอนาคตที่มั่นคงและปลอดภัยเคียงข้างองค์กรของท่าน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Contact Form_TH Sources