หลาย ๆ องค์กรมีข้อกังวลในเรื่องการจัดการเซิร์ฟเวอร์เอง ต้องลงทุนกับฮาร์ดแวร์จำนวนมากเพื่อรองรับการทำงานหรือต้องเผชิญกับปัญหาระบบรองรับ Workload ลูกค้าไม่ทัน(ระบบล่ม) เมื่อธุรกิจขยายตัว? ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรต้องเผชิญ และอาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางธุรกิจได้ และ Public Cloud คือคำตอบสำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้!
การใช้งาน Public Cloud คือเปรียบเสมือนการเช่าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น เช่น เซิร์ฟเวอร์, พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และโครงสร้างคลาวน์ในการรองแอปพลิเคชันได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องลงทุนกับฮาร์ดแวร์เองเลย บทความนี้จะทำให้คุณรู้จัก Public Cloud คืออะไรและเห็นความสำคัญของการใช้งานมากขึ้น!
โมเดลการให้บริการ: อธิบาย IaaS, PaaS และ SaaS ให้เข้าใจง่าย ๆ พร้อมยกตัวอย่างบริการที่เป็นที่นิยม
- IaaS (Infrastructure as a Service) คือรูปแบบหนึ่งของการให้บริการระบบคอมพิวเตอร์บนคลาวด์ที่เน้นการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที อาทิ หน่วยประมวลผล (CPU), หน่วยความจำ (memory), พื้นที่จัดเก็บข้อมูล (storage) และระบบเครือข่าย (networking) เป็นข้อดีที่ไม่ต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จำนวนมาก อย่างเช่น ในบริษัทสตาร์ทอัพ ใช้ IaaS เพื่อทดลองและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยไม่ต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์จำนวนมาก
- PaaS (Platform-as-a-Service) คือรูปแบบหนึ่งของการให้บริการระบบคลาวด์ที่นำเสนอ “แพลตฟอร์ม” สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการพัฒนา ทดสอบ และนำซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันไปใช้งานได้โดยสะดวก โดยนักพัฒนาจะไม่ต้องจัดการกับฮาร์ดแวร์หรือระบบปฏิบัติการเอง
- SaaS (Software-as-a-Service) คือรูปแบบหนึ่งของบริการบนคลาวด์ที่ให้บริการซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันผ่านทางอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านเบราว์เซอร์โดยไม่ต้องติดตั้งหรือดูแลระบบซอฟต์แวร์ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือบุคคลทั่วไปก็สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น Google Workspace, Microsoft 365 หรือ Dropbox
การเปรียบเทียบระหว่าง Hybrid IT, Hybrid Cloud และ Multi-Cloud
- Hybrid IT ผสมผสานระหว่างโครงสร้างพื้นฐาน IT แบบดั้งเดิม (on-premise) และบริการคลาวด์หนึ่งรูปแบบ โครงสร้างนี้ลักษณะนี้ช่วยให้องค์กรสามารถรักษาการควบคุมบางส่วนภายในองค์กรที่เคยใช้มาตลอด และใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นของคลาวด์ได้อย่างเต็มที่
- Hybrid Cloud รวมเอา Public Cloud และ Private Cloud เข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีการ จัดการแบบรวม ทำให้สามารถ ใช้ประโยชน์จากข้อดีของทั้งสองรูปแบบได้อย่างเต็มที่ เช่น ความปลอดภัยสูงของ Private Cloud และความยืดหยุ่นของ Public Cloud
- Multi-Cloud การใช้บริการคลาวด์จาก ผู้ให้บริการหลายรายโดยมีการจัดการแยกกัน ซึ่งทำให้มีความ ยืดหยุ่นสูง ในการเลือกใช้บริการที่เหมาะสมกับแต่ละ workload
หากองค์กรยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกใช้ Cloud แบบใด หรือต้องการความยืดหยุ่นในการใช้งานมากขึ้น สามารถพิจารณา Multi-cloud หรือ Hybrid Cloud ได้ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud เพื่อให้ได้ประโยชน์จากทั้งสองแบบ
Public Cloud ทำงานอย่างไร
ลักษณะการทำงานเบื้องหลังของ Public Cloud มีดังนี้
ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ทั่วโลกของกูเกิล
ผู้ให้บริการคลาวด์จะมีศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ทั่วโลก เป็นที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์, ระบบเครือข่าย และระบบจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก
การแบ่งทรัพยากร
เทคโนโลยีการจำลองระบบเสมือนเป็นพื้นฐานสำคัญของการประมวลผลคลาวด์ โดยมีทรัพยากรเป็นรายการต่าง ๆ ทรัพยากรเหล่านี้จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อให้ลูกค้าหลายรายสามารถใช้งานได้พร้อมกัน โดยแต่ละส่วนจะมีการแยกแยะและควบคุมการเข้าถึงอย่างชัดเจน
การผสานรวม APIs
การผสานรวม APIs ใน Public Cloud เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์แอปพลิเคชันที่ซับซ้อนและทรงพลังได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดเอง ลดการประมวลผลที่ซับซ้อน
SLA หรือ ข้อตกลงระดับการให้บริการ
ผู้ให้บริการระบบคลาวด์สาธารณะมีข้อตกลง SLA ซึ่งรับประกันระดับความพร้อมใช้งาน ความเสถียร และประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้ ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้ว่าระบบจะทำงานตามข้อตกลงเหล่านี้
ประโยชน์ของ Public Cloud ต่อองค์กรและธุรกิจ
- ความยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ เพิ่มหรือลดทรัพยากร Cloud Computing (CPU, RAM, Storage) ได้ตามปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละช่วงเวลา รองรับการเติบโตของธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
- ประหยัดต้นทุน จ่ายตามการใช้งานจริง ชำระค่าบริการตามปริมาณทรัพยากรที่ใช้จริง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
- ลดขั้นตอนการทำงาน นักพัฒนาสามารถมุ่งเน้นไปที่การเขียนพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ ได้โดยตรง แทนที่จะต้องเสียเวลากับการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยให้องค์กรสามารถลดระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์หรือบริการออกสู่ตลาดได้
ยกตัวอย่างองค์กรที่นำ Public Cloud ของ Google ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
- ธนาคาร HSBC ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ได้ย้ายกระบวนการทางการเงินที่สำคัญมายัง Google Cloud เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยง พวกเขายังใช้เทคโนโลยี AI และ Machine Learning ในการต่อสู้กับการฟอกเงิน รวมถึงการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าเพื่อป้องกันการฉ้อโกง และสร้างประสบการณ์การให้บริการที่ดียิ่งขึ้น
- Sky ให้บริการโทรทัศน์และความบันเทิงชั้นนำแห่งหนึ่งของยุโรปได้นำ Google Cloud มาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า โดยเฉพาะในด้านการแนะนำเนื้อหาส่วนบุคคลและการเพิ่มประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ด้วยการใช้ความสามารถของ Google Cloud ในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการเรียนรู้ของเครื่อง Machine Learning โดย Sky สามารถปรับแต่งบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และยังจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การให้บริการมีคุณภาพมาก
- Kia นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการใช้ Google Workspace และ AI Platform ใน Google Cloud ร่วมกันพัฒนา Live Stream Showroom เป็นแพลตฟอร์มจำลองการชมรถยนต์แบบเสมือนจริง เพื่อให้ลูกค้าสามารถสำรวจและตัดสินใจซื้อรถยนต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Kia ยังได้พัฒนาแอปพลิเคชันคู่มือผู้ใช้รถยนต์แบบดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ได้ง่ายขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของ Google Cloud
Source :
https://cloud.google.com/customers/hsbc
https://cloud.google.com/customers/sky-uk
https://cloud.google.com/customers/kia
จุดแข็ง/ข้อดีของการใช้ Public Cloud จาก Google Cloud Platform
1. โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพสูง
- เครือข่ายทั่วโลก: มีเครือข่ายศูนย์ข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลก ทำให้การเข้าถึงข้อมูลและแอปพลิเคชันของผู้ใช้มีความรวดเร็ว
- เทคโนโลยีที่ทันสมัย: Google Cloud Platform นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เช่น AI, Machine Learning และ Big Data จึงไม่ต้องลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้เอง
ยกตัวอย่าง
Google Search Engine: เบื้องหลังใช้ Google Cloud Platform ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการค้นหาของ Google ทำให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง รองรับการประมวลผลจำนวนมากและมีความเสถียร
2. เครื่องมือและบริการที่หลากหลาย
- เครื่องมือสำหรับนักพัฒนา: มีเครื่องมือและไลบรารี อาทิ Google Cloud SDK, Gemini in Code Assist, Gemini in Cloud Assist สำหรับนักพัฒนาที่หลากหลาย ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างและปรับใช้แอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว
- บริการที่ครอบคลุม: ครอบคลุมบริการต่างๆ ตั้งแต่ IaaS, PaaS ไปจนถึง SaaS ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรได้หลากหลาย ทั้งการพัฒนาแอปพลิเคชัน การจัดการข้อมูล และการจัดการทรัพยากร
- Kubernetes Engine: Kubernetes เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ช่วยจัดการคอนเทนเนอร์ยอดนิยม ซึ่งหลายแพลตฟอร์มอย่าง Google Kubernetes Engine (GKE) ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการแอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่ในคอนเทนเนอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซับซ้อนของการจัดการระบบ
3. Artificial Intelligence และ Machine Learning
- TensorFlow: เป็นเฟรมเวิร์กโอเพนซอร์สที่พัฒนาโดย Google สำหรับการพัฒนา Machine Learning และ Deep Learning ซึ่งเป็นที่นิยมในชุมชนนักพัฒนา เนื่องจากมีเครื่องมือและโมเดลที่พร้อมใช้งานในการพัฒนาแอปพลิเคชันด้าน AI ได้อย่างรวดเร็ว
- TPU: Tensor Processing Unit เป็นชิปที่ออกแบบมาเพื่อเร่งการประมวลผลงานด้าน AI และ Machine Learning ทำให้สามารถประมวลผลโมเดลที่มีความซับซ้อนได้รวดเร็วขึ้นและลดเวลาในการฝึกสอนโมเดล Machine Learning
- บริการ AI ที่หลากหลาย: Google Cloud Platform มีบริการ AI ที่หลากหลาย เช่น Natural Language Processing, Vision API และ Translation API
4. ราคาที่แข่งขันได้
- โครงสร้างราคาที่ยืดหยุ่น: มีโครงสร้างราคาที่หลากหลายให้เลือก ซึ่งหมายถึงองค์กรจะจ่ายค่าบริการตามการใช้งานจริง ทำให้สามารถเลือกแผนที่เหมาะสมกับงบประมาณและความต้องการขององค์กรได้
5. ความมุ่งมั่นในการรักษาความปลอดภัย
- มาตรฐานความปลอดภัยที่สูง: Google Cloud Platform ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลอย่างมาก มีการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยผ่านมาตรการต่างๆ ที่แข็งแกร่ง
- การปฏิบัติตามข้อกำหนด: ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น GDPR, HIPAA สิ่งเหล่านี้ช่วยให้องค์กรมั่นใจว่าการใช้บริการคลาวด์จะสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
FAQ
ความปลอดภัยบน Public Cloud
- ข้อมูลจะปลอดภัยแค่ไหน? ใครเป็นผู้รับผิดชอบความปลอดภัยของข้อมูล?: ข้อมูลของคุณจะได้รับการปกป้องด้วยมาตรการความปลอดภัย แต่ต้องเน้นย้ำว่า Public Cloud เป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการ ผู้ใช้ควรมีส่วนร่วมในการกำหนดค่าความปลอดภัยและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดี
- มาตรการรักษาความปลอดภัย: การตรวจสอบช่องโหว่, ใช้การเข้ารหัสข้อมูล, การยืนยันตัวตนหลายชั้น (MFA), และกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงต่าง ๆ ไว้
- จะเกิดอะไรขึ้นหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด: หากมีการโจมตีทางไซเบอร์ หรือการขัดข้องของระบบผู้ใช้ควรมีแผนรับมือการโจมตีไซเบอร์ เช่น ระบบสำรองข้อมูล และแผนการกู้คืนข้อมูล (Disaster Recovery Plan)
- การควบคุมการเข้าถึง: อาจนำระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในการควบคุมการเข้าถึง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
ค่าใช้จ่าย
- ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นหรือไม่: ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน Public Cloud จะได้เปรียบตรงที่ไม่ต้องลงทุนกับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากในทันที ช่วยลดภาระทางการเงินในระยะเริ่มต้นได้ไม่ต้องลงทุนเรื่องระบบ IT ของตัวเอง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่กำลังเริ่มต้น อาจเหมาะกับการใช้ Public Cloud มากกว่า
- จะควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างไร: Google Cloud Platform สามารถตั้ง Budget Alert ได้ เพื่อตั้งงบประมานในการใช้งานและแจ้งเตือนเมื่อใช้ใกล้ถึงที่กำหนดเอาไว้ หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน Cloud เพื่อขอคำแนะนำ
การย้ายระบบ
- จะย้ายระบบปัจจุบันไปยัง Public Cloud ได้อย่างไร: การย้ายระบบปัจจุบันไปยัง Public Cloud หรือที่เรียกว่า Cloud Migration อาจใช้วิธีการถ่ายโอนข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อ Private Network หรือ VPNหรือแนวทางอื่น ๆ ซึ่งมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อนและระยะเวลาในการดำเนินการก็แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของระบบปัจจุบันของคุณ
- จะเกิดปัญหาในการทำงานขัดข้องระหว่างการย้ายระบบหรือไม่: อาจเกิดจากความผิดพลาดในการสำรองข้อมูล หรือการถ่ายโอนข้อมูลไม่สมบูรณ์ได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาควรศึกษาวิธีการย้ายให้ดีและสำรองข้อมูลทั้งหมดก่อนเริ่มการย้ายระบบ
- จะมีการสำรองข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างไร: มีเครื่องมือสำรองข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องมากมายให้คุณเลือกใช้
ความรู้และทักษะที่ต้องมีในการใช้งาน Cloud
- พนักงานในองค์กรควรจะมีความรู้เพียงพอในการใช้งาน Public Cloud หรือไม่: ควรมีการฝึกอบรมพนักงานเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้พนักงานเข้าใจถึงศักยภาพของ Cloud ได้มากขึ้น ถ้าหากคุณสนใจอยากลองใช้ระบบ Cloud เพื่อขับเคลื่อนองค์กร Tangerine เรามีบริการระบบ Cloud พร้อมทีมงานที่คอยให้คำปรึกษา และ เทรนนิ่งส่งมอบระบบ เพื่อให้พนักงานในองค์กรของคุณสามารถไปใช้นำไปใช้งานได้อย่างราบรื่น
Tangerine ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้และทักษะในการใช้งาน Google Cloud Platform อย่างเต็มที่ โดยมีการจัดอบรม ให้คำปรึกษา หรือสอนตอนส่งมอบระบบแก่พนักงานของลูกค้าทุกองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จะหาผู้เชี่ยวชาญด้าน Public Cloud ได้จากที่ไหน: หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมในการจัดการระบบ Tangerine เรามีประสบการณ์กว่า 15 ปีและความเชี่ยวชาญใน Google Cloud Platform เพราะเราคือ Google Cloud Premier Partner ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณและองค์กรของคุณใช้งาน Google Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เรายังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ เพื่อให้คุณได้เปรียบคู่แข่งและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ
สรุป
Public Cloud เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับองค์กรที่ต้องการลดต้นทุน เพิ่มความยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Google Cloud ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีคลาวด์ ที่นำเสนอเครื่องมือและบริการที่หลากหลาย เช่น AI และ Machine Learning ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยที่ Google Cloud ให้ไว้ ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของคุณจะได้รับการดูแลอย่างดี
Tangerine เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านการแปลงโฉมธุรกิจด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ เราช่วยให้องค์กรของคุณก้าวข้ามขีดจำกัดด้วยโซลูชัน Public Cloud และ Multi-cloud ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ติดต่อเราเพื่อค้นหาโซลูชันที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ
สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของ Tangerine ได้ที่ marketing@tangerine.co.th