BLOGS

System Integrator (SI) คือใคร สำคัญอย่างไร มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

Tangerine • 05/06/2024
Tangerine Co., Ltd.
System Integrator (SI) คือใคร สำคัญอย่างไร มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
System Integrator (SI) คือใคร

ทุกท่านเคยสงสัยไหมว่าเบื้องหลังของระบบเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในองค์กรใหญ่ ๆ ใครคือคนที่ทำให้ทุกอย่างทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น? ในยุคที่เทคโนโลยีมีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน การเชื่อมต่อระบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก นี่คือเรื่องราวของ System Integrator (SI) เปรียบเสมือนผู้เชี่ยวชาญด้านการบูรณาการระบบ

System Integrator (SI) คืออะไร สำคัญอย่างไรในยุคดิจิทัล

System Integrator (SI) คือ บุคคลหรือบริษัทที่มีหน้าที่เชื่อมต่อและรวมระบบต่าง ๆ ในองค์กรให้ทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัว ไม่เพียงแค่ติดตั้งระบบเทคโนโลยี แต่ยังวางแผน ออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว  หรือระบบใหม่ที่เพิ่งติดตั้ง และจัดการให้ระบบทุกส่วนสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีข้อขัดข้อง
และแน่นอนว่าในยุคดิจิทัลนี้ที่การเชื่อมต่อและการรวมระบบเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ SI System Integrator มีบทบาทที่ไม่อาจมองข้ามได้ จากการรวมระบบที่ซับซ้อนให้เป็นหนึ่งเดียว การเพิ่มประสิทธิภาพลดความเสี่ยง ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และรองรับการเติบโตขององค์กรในอนาคต ไปจนถึงการปรับตัวในยุคเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

บทบาทและหน้าที่ของ System Integrator

หน้าที่ของ System Integrator

พอจะรู้จักกันคร่าว ๆ ไปแล้วว่า System Integrator คืออะไร แล้วมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ System Integrator ต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง

ทำความเข้าใจความเป้าหมายขององค์กร

การทำความเข้าใจความต้องการและเป้าหมายขององค์กร เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับ System Integrator ในการออกแบบ พัฒนา และติดตั้งระบบที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งนอกจากจะทราบถึงปัญหาที่องค์กรกำลังเผชิญแล้ว System Integrator ก็ต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ศึกษาจุดแข็ง-จุดอ่อน ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์กร โครงสร้างองค์กร เทคโนโลยี กระบวนการทำงานเดิมที่มีอยู่ขององค์กร รวมถึงปัจจัยภายนอก ทั้งเรื่องเทรนด์เทคโนโลยี การแข่งขันทางการตลาดที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร เพื่อนำไปสู่การหาโซลูชันเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้

ออกแบบ วางแผน และติดตั้งระบบต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น

ขั้นตอนการออกแบบ วางแผน และติดตั้งระบบเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างยิ่ง และจะมีรายละเอียดที่ต่างกันไปในแต่ละ System Integrator หลัก ๆ แล้วการออกแบบเลือกฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม วางแผนโดยคำนึงถึงความเข้ากันได้ของระบบทั้งเก่าและใหม่ มีความปลอดภัยและมีความยืดหยุ่น เมื่อพัฒนาระบบและทดสอบกันจนเรียบร้อยแล้ว System Integrator จะทำการเช็ตระบบ เครื่องมือ เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ และตั้งค่าระบบให้พร้อมใช้งาน

จัดฝึกอบรมพนักงาน และให้คำปรึกษา

หลังจากติดตั้งเชื่อมโยงระบบเรียบร้อยแล้ว System Integrator จะมีการจัดฝึกอบรมพนักงานในองค์กรให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ ให้คำปรึกษาและสนับสนุนเมื่อเกิดปัญหาหรือมีข้อสงสัยในการใช้งานระบบ รวมถึงสอนวิธีตั้งค่าและวิธีแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้เบื้องต้น 

ดูแลรักษา และปรับปรุงระบบ

System Integrator ยังมีหน้าที่ในการติดตามและปรับปรุงระบบตามความต้องการขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย เพราะความต้องการขององค์กรย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ กฎระเบียบใหม่ หรือแนวโน้มการแข่งขันตลาดที่เปลี่ยนแปลง System Integrator จึงจำเป็นต้องติดตามความต้องการขององค์กรอย่างใกล้ชิด วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลการใช้งานระบบ  และปรับปรุงระบบให้สอดคล้องกับความต้องการใหม่ ๆ อยู่เสมอ

เนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : IT Consultant

วิธีเลือก System Integrator

วิธีเลือก System Integrator

เพราะการจะเลือก System Integrator Companies มาช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบเป็นเรื่องต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบ และต้องตัดสินใจจากหลายปัจจัย การเลือก System Integrator สามารถแบ่งออกเป็นวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • กำหนดความต้องการขององค์กร ก่อนอื่นเลย องค์กรต้องเข้าใจความต้องการของตัวเองอย่างชัดเจน   ว่าต้องการระบบอะไร มีฟังก์ชันการทำงานแบบไหน ต้องการใช้งบประมาณเท่าไหร่ มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยกรองตัวเลือก System Integrator ให้เหลือเฉพาะบริษัทที่สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรได้อย่างแท้จริง
  • ศึกษาข้อมูลของ System Integrator ศึกษาข้อมูลของ System Integrator แต่ละบริษัท เปรียบเทียบประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของทีมงาน ผลงานที่ผ่านมา เทคโนโลยีที่รองรับ รีวิวจากลูกค้าองค์กรอื่น ๆ ที่เคยใช้บริการ สิ่งนี้จะแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อ
  • System Integrator ต้องมีมาตรฐาน เลือกบริษัท System Integrator ในไทยที่ได้รับใบรองรับ ISO 27001 มาตรฐานระบบความปลอดภัยสารสนเทศ และ ISO 27701 มาตรฐานระบบการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 
  • เปรียบเทียบราคาและบริการ แต่ละบริษัทอาจเสนอราคาและบริการที่แตกต่างกัน องค์กรควรเปรียบเทียบราคาอย่างละเอียด พิจารณารวมถึงค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ   ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ องค์กรควรเปรียบเทียบขอบเขตของบริการ และระยะเวลาการดำเนินงาน
  • การรับประกันและบริการหลังการขาย เลือก System Integrator ที่มีข้อเสนอการรับประกันผลงาน บริการหลังการขาย ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดปัญหา และความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนระบบในอนาคตร่วมด้วย

ลดต้นทุนองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ด้วย System Integrator

การใช้บริการของ System Integrator เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดต้นทุนองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน System Integrator มีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ความต้องการ ออกแบบ วางแผนและติดตั้งระบบ ผสานรวมระบบต่างๆ และดูแลรักษาระบบระยะยาว รวมถึงการให้คำปรึกษาและสนับสนุนการใช้งาน หากองค์กรของท่านต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มีระบบที่เชื่อมโยงถึงกันและพนักงานทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้ราบรื่น และลดต้นทุน เพิ่มโอกาสเติบโต การใช้บริการของ System Integrator เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมและการทำงานในองค์กรของท่านจะง่ายขึ้น ลดช่องโหว่ความผิดพลาดโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้

Tangerine ไม่ได้เป็นแค่ System Integrator ทั่วไป แต่เรามีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง

บริษัทไอที Tangerine ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษา ผู้ออกแบบ และผู้พัฒนาระบบไอทีต่าง ๆ ให้กับองค์กรมากมาย สิ่งที่ทำให้เราแตกต่างและโดดเด่นกว่าที่อื่นคือ เรามีจุดแข็งในเรื่องของการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้และเข้าใจแผนธุรกิจไปพร้อม ๆ กับลูกค้า และพอยท์ให้เห็นได้ว่าเรามี Solution อย่างไรที่สอดคล้องกับแผนการตลาดของลูกค้า นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในเรื่อง Cyber Security, Appication Deverlopment และ Data Analytics เพื่อเป็นมากกว่า System Integrator สู่บทบาทใหม่ของการเป็น Business Solution Provider 

หากท่านสนใจบริการหรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อเราได้ที่ marketing@tangerine.co.th  หรือโทร 02-285-5511
ท่านจะได้รับคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Contact Form_TH Sources